สล็อตออนไลน์ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพิ่มทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้โดยสาร เปิดจำหน่าย บัตรโดยสารรายเดือน ประเภท 30 วัน 30 เที่ยว ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้โดยสารจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง บัตรโดยสารรายเดือน – นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาบริษัทได้เริ่มเปิดจำหน่ายบัตรโดยสารประเภทรายเดือน 30 วัน 30 เที่ยว ที่ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้โดยสาร และเป็นทางเลือกที่มีความประหยัด และคุ้มค่า
ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้โดยสารจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เนื่องจากบัตรโดยสารประเภทรายเดือน 30 วัน 30 เที่ยว ราคา 750 บาท (ราคานี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมการออกบัตร 50 บาท) หากคำนวณแล้วจะเฉลี่ยเที่ยวละ 25 บาท เดินทางจากรังสิต – ตลิ่งชัน ระยะทาง 41 กิโลเมตร ประหยัดสูงสุดเพียง 0.60 บาทต่อกิโลเมตร
สำหรับข้อกำหนดการใช้บัตรโดยสารประเภทรายเดือน 30 วัน 30 เที่ยว มีดังนี้
– ผู้โดยสารจะไม่สามารถขอคืนเงินได้ในทุกกรณี
– ผู้โดยสารสามารถเติมมูลค่าเที่ยวเดินทางได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารเท่านั้น
– วันหมดอายุ 30 วันจะเริ่มนับตั้งแต่เข้าใช้งานครั้งแรก
– เมื่อซื้อบัตรโดยสารแล้วจะต้องใช้เดินทางภายใน 45 วัน มิฉะนั้นจำนวนเที่ยวเดินทางจะถูกตัดเหลือ 0 เที่ยว
– หากบัตรโดยสารวันหมดอายุหรือเที่ยวเดินทางหมด สามารถเติมเที่ยวใหม่ได้ ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯกำหนด
– กรณีเติมเที่ยวเดินทาง จะนับวันหมดอายุของบัตรโดยสารใหม่ทันที
– กรณีเติมเที่ยวเดินทางต้องมีเที่ยวเดินทางคงเหลือน้อยกว่า 50 เที่ยว
โดยหลังจากเปิดจำหน่ายบัตรดังกล่าววันแรกปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้โดยสารสอบถามเพื่อหาซื้อบัตรดังกล่าว เป็นจำนวนมาก
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนบริการลูกค้า 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
ผงะ! กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยพบ โอมิครอน BA.2 แล้ว 18.5%
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ประเทศไทย พบโควิด โอมิครอน BA.2 แล้ว 18.5% ยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง ชี้ไม่พบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 5-11 ก.พ. จากการตรวจประมาณ 2 พันตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเกือบทั้งหมด 1,975 ตัวอย่าง ประมาณ 97.2% เป็นเดลตา 2.8% แสดงว่ายังมีเดลตาหลงเหลืออยู่บ้าง
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า หลังการระบาดของโอมิครอนค่อนข้างเร็ว และจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ธรรมชาติไวรัสเมื่อติดเชื้อซ้ำๆ ระบาดค่อนข้างกว้าง ก็ออกลูกหลาน มีโอกาสของการกลายพันธุ์ จากเดิมกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น B.1.1.529 แต่เมื่อมีสายพันธุ์ย่อยมากขึ้น จึงเรียกว่า BA.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์โอมิครอนเดิม ทั่วโลกมีการตรวจส่งเข้าฐานข้อมูลโลก GISAID ประมาณ 617,256 ตัวอย่าง ส่วน BA.2 ประมาณ 5.4 หมื่นกว่าตัวอย่าง BA.3 ประมาณ 297 ราย
BA.2 มาทีหลังประมาณปลาย ธ.ค.เริ่มตรวจพบ ในไทยก็ตรวจพบรายแรกๆ ช่วงต้น ม.ค. ทั้ง BA.1 และ BA.2 ลักษณะการกลายพันธุ์เหมือนกัน 32 ตำแหน่ง ต่างกัน 28 ตำแหน่ง มาร์กเกอร์สำคัญของ BA.2 หากโอมิครอนควรจะมีการหายไปของตำแหน่ง delta69-70 แต่ BA.2 กลับมาไม่หายไป แต่ไม่เป็นประเโนมีวิธีตรวจจับได้
ขณะนี้พบ BA.2 ที่มีการส่งข้อมูลเข้า GISAID ประมาณ 57 ประเทศ แนวโน้มที่จะแทน BA.1 เช่น อินเดีย เดนมาร์ก และสวีเดน เป็นต้น อย่างเดนมาร์ก พบ BA.2 มากกว่า BA.1 ต้องเฝ้าจับตาดู ส่วนไทยยังพบ BA.1 มากกว่า แต่อนาคตหากแพร่เร็วก็จะเบียด BA.1 ในที่สุด
คำถามเหมือนสากลว่า ถ้ามีสายพันธุ์ใหม่หรือสายพันธุ์ย่อยใหม่ ต้องถามว่าแพร่เร็วขึ้นไหม หลบวัคซีนไหม ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งข้อมูลการแพร่เร็วเริ่มเห็นสัญญาณ เช่น เดนมาร์กที่เบียดของเดิม แสดงว่าแพร่เร็วกว่า ส่วนความรุนแรงและหลบวัคซีน อาจดูได้เฉพาะตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ซึ่งยังไม่มีข้อแตกต่างมากนักเมื่อเทียบกับ BA.1 แต่ต้องติดตามดูข้อมูล โดยเฉพาะป่วยรุนแรงในสนามจริงว่า BA.2 รุนแรงมากกว่าแค่ไหน ส่วน BA.1 ระบาดกว้างขวางมาก ก็ขยับไป BA.1.1 อีกซึ่งเราตรวจจับได้ในไทยเช่นกัน สล็อตออนไลน์